การจัดกลุ่ม Literacy รายวิชาศึกษาทั่วไป

การจัดกลุ่ม Literacy รายวิชาศึกษาทั่วไป

กลุ่ม Literacy ในศตวรรษที่ 21

เพื่อให้การจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา ในการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยได้กำหนดกลุ่ม Literacy ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้

  1. MU Literacy (MU) หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลและคุณค่าที่เป็นสาระสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล มีทักษะในการปฏิบัติและเจตคติที่เห็นคุณค่าของความเป็น “คนมหิดล” มีความรู้ ทักษะและเจตคติในการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เป็นความรู้และทักษะทางเทคนิคในวิชาชีพและความรู้และทักษะเสริม (soft skill) เพื่อเป็นปัญญาของแผ่นดิน มีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม เป็นนายแห่งตน รู้แจ้ง เห็นจริง สมเหตุ สมผล กล้าคิด กล้าทำ สร้างสรรค์นวัตกรรม “มุ่งมั่นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติ มุ่งผลเพื่อผู้อื่น โดยปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง”
  2. Health Literacy (HEALTH) หมายถึง ความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์และประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง เพื่อให้เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีทางด้านสุขภาพกาย (Physical Health) สุขภาพจิต (Mental Health) สุขภาพสังคม (Social Health) และ สุขภาพจิตวิญญาณ (Spiritual Health) รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้
  3. Science and Environmental Literacy (SCIENCE) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งการบูรณาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เพื่อการตระหนักรู้และตัดสินใจในการมีส่วนร่วมในกิจการพลเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านสิ่งแวดล้อมและการมีจิตสำนึกที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตนในการดูแลสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างยั่งยืน
  4. Inter Cultural & Global Awareness Literacy (INTER) ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม/วัฒนธรรม ความสามารถในการเข้าใจ ประเพณี กิจกรรม และประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนจากหลากหลายวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมกับประเพณี กิจกรรม และประวัติศาสตร์ ผ่านพื้นที่การแสดงออกทางวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ความตระหนักเกี่ยวกับโลก คือ การคิดเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวบนโลกนี้ ว่ามีความสัมพันธ์กัน การกระทำใด ๆ ต่างเกิดผลกระทบต่อความเป็นไปในโลก
  5. Civic Literacy (CIVIC) การรู้จักสิทธิ บทบาทหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกหนึ่งในสังคม ที่มีส่วนร่วมกันทำให้บ้านเมืองสงบสุขและเข้มแข็ง
  6. Finance and Management Literacy (FINANCE) ความเข้าใจและปฏิบัติเป็น ในด้านการเงิน เศรษฐกิจ การจัดการ และการเป็นผู้ประกอบการ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้

ดาวน์โหลดนิยามกลุ่ม Literacy คลิกที่นี่

ติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาในการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต
(Center for Life-integrated Learning, Mahidol University)
โทร. 02-849-4586, 02-849-4587, 02-849-4653
อีเมล lifelonglearning@mahidol.edu