ศูนย์ส่งเสริมฯ จัด Live แนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนวิชาศึกษาทั่วไปและเลือกเสรี แก่นักศึกษา สำหรับภาคเรียนที่ 2/2566

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมกับกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญนักศึกษาระดับปริญญาตรีชม Live แนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนวิชาศึกษาทั่วไปและเลือกเสรี โดย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (CLiL) และ กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กลุ่ม 1 เวลา 13.30-14.30 น. และกลุ่ม 2 เวลา 14.30-15.30 น.

รับย้อนหลัง ผ่าน Facebook Page GenEdMahidolU ได้ ที่นี่

ศูนย์ส่งเสริมฯ จัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 2/2566

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมกับกองบริหารการศึกษา จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกาา 2566 และแนวทางการลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปตามโครงสร้างหลักสูตร (มม.2) สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรไทย แก่คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากส่วนงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายวิชาศึกษาทั่วไป การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน

สาระสำคัญของการบรรยาย ประกอบด้วยการแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป แนะนำนิยามและหน่วยกิตของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนะนำโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป แนะนำประเภทของรายวิชา ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป การให้คำแนะนำนักศึกษาในการลงทะเบียนเรียน แนะนำรายวิชา GE PLUS ระบบลงทะเบียนเรียน SmartEDU ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และปฏิทินการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ชมวิดีโอบันทึกการประชุมย้อนหลัง คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่

เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ GE TALK ครั้งที่ 2

ทำอย่างไรให้การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ?
เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย ขอเชิญร่วมฟังบรรยาย GE Talk ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. พบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา และ รศ.ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว อาจารย์ประจำสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศูนย์ส่งเสริมฯ ร่วมกับกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุดแนวทางพัฒนากำลังคนแบบ Co-Creation ครั้งที่ 1 เรื่อง “ส่องทิศทางตลาดแรงงานทักษะมาแรง และสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการ” โดย SCB Academy

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมกับกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุดแนวทางพัฒนากำลังคนแบบ Co-Creation ครั้งที่ 1 เรื่อง “ส่องทิศทางตลาดแรงงานทักษะมาแรง และสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการ” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิของธนาคารไทยพาณิชย์มาเป็นวิทยากร ได้แก่ คุณตรีทิพย์ ขจรกล่ำ, คุณปิยะกาญ เจียมจิระพร, คุณจินตวัชร์ ชูจินดา, คุณสุทธิลักษณ์ ไชยประณิธาน และมีคณาจารย์จากส่วนงานต่าง ๆ เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย
สาระสำคัญของการบรรยาย ประกอบด้วยการให้มุมมองของวิทยากรเกี่ยวกับภาพรวมความต้องการตลาดแรงงานของภาคธุรกิจ ตำแหน่งงานสำคัญที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน และกรณีศึกษาภาพรวมความต้องการของบุคลากรภายใน SCB รวมทั้ง Future Skill & Competencies for New grads & Experience ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร และกระบวนการที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรหรือส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดต่อขอรับเอกสารสรุปการบรรยายได้ที่ คุณพรพรรณ pornpan.sit@mahidol.ac.th

ศูนย์ CLiL จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ MUGE105 Train the Trainer เพื่อพัฒนาทีมผู้สอนความฉลาดรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ MUGE105 Train the Trainer เพื่อพัฒนาทีมผู้สอนความฉลาดรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป มมศท 105 การสร้างอนาคตที่มั่นคงทางการเงิน ณ ห้อง 4218 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก SCB Wealth Academy ได้แก่ คุณจันทร์ฉาย จันทร์เจ้าฉาย (CFP®) คุณงามจิตร สิงหบุตร (CFP®) คุณอนุชา นิลประดิษฐ์ (CFP®) คุณพรรณี อาทรกิจวัฒน์ คุณธนวิตร์ สวนศรี และทีมวิทยากรจาก SCB Academy มาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์แก่คณาจารย์จากส่วนงานต่าง ๆ ที่สนใจ การพัฒนาทีมผู้สอนในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รายวิชาสามารถรองรับนักศึกษาได้จำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกชั้นปี ทุกวิทยาเขต และช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาเข้ากับบริบทสาขาวิชาเรียนและวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 

 

สำหรับ รายวิชา มมศท 105 การสร้างอนาคตที่มั่นคงทางการเงิน เป็นหนึ่งในรายวิชานำร่องในกลุ่ม GE PLUS ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่บริหารจัดการโดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (Center for Life-integrated Learning – LiL) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการกิจกรรมเสริมหลักสูตรกับการเรียนรู้ในห้องเรียน นักศึกษาที่สอบผ่านบทเรียนออนไลน์ตามเส้นทางการเรียนรู้คัดสรรที่กำหนด เมื่อเข้าร่วมกระบวนการในชั้นเรียน เพื่อ “เติมเต็ม” และ “ยืนยัน” การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ร่วมกับทีมอาจารย์ในรายวิชา หรือที่เรียกว่ากิจกรรม PLUS ครบถ้วนแล้ว จะสามารถรับหน่วยกิตในรายวิชาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในหลักสูตรได้อีกด้วย 

เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ GE TALK ครั้งที่ 1

เสวนาทางวิชาการเครือข่ายศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย “GE Talk” ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 การบรรยาย หัวข้อ แนวโน้มการจัดการศึกษาทั่วไปในยุคพลิกผัน โดย รศ. ดร.บัณฑิต ทิพากร ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ที่ปรึกษาเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย

รับชมวิดีโอบันทึกการเสวนาย้อนหลัง คลิกที่นี่

ศูนย์ส่งเสริมฯ จัดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหิดลตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหิดลตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 เพื่อชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป แก่ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุม >>>> https://drive.google.com/drive/folders/1lYyf0reAlxAiVuDhwJXgpSmfTq7ozx8N?usp=drive_link

ศูนย์ CLiL ร่วมต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร

วันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยบุคลากรกองกิจการนิสิต กองบริหารการศึกษา และกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านฐานข้อมูลและสิทธิประโยชน์สำหรับศิษย์เก่า ด้าน Career Support Services ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ณ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อาคารสิริวัฒนภักดี) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

ขอบพระคุณภาพจาก กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์ CLiL ร่วมต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจาก University Brunei Darussalam

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ. ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ฯ ให้การต้อนรับ คณะผู้ศึกษาดูงานจาก University Brunei Darussalam นำโดย Assoc. Prof. Dr. Jose Hernandez Santos, Director, Dr. Nik Ani Afiqah Haji Mohamad Tuah, Deputy Director, Mrs. Eni Suriati Haji Abd Rahman, Assistant Registrar Centre for Lifelong Learning, University Brunei Darussalam เพื่อร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างกัน ณ อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

 

ขอบพระคุณภาพจาก หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ม.มหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการศึกษาทั่วไประดับชาติ ในโอกาสการเฉลิมฉลอง 53 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การเผยแพร่องค์ความรู้และแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป” ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษา 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การเสวนาดังกล่าวจัดโดย สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม เนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลอง 53 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สาระสำคัญของการบรรยาย ประกอบด้วยการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดล 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบรายวิชาตามแนวทาง Outcome-based Education ด้านการบริการจัดการรายวิชาตามกลุ่ม Literacy ในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนการสอน รายวิชามมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ และการนำเสนอทิศทางการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดลให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ผ่านการพัฒนาชุดรายวิชา GE Plus ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) การเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Personalized Learning) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) ได้แบบบูรณาการ