ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ฯ นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP หัวข้อ “Design Revolution: เทคนิคการใช้ Canva Pro (Glow Up 2024) และ Magic AI อย่างมืออาชีพ” ณ ห้อง 802 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ

นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากจะได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งร่วมทำกิจกรรมเวิร์กช็อปที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตการเรียนและการทำงานแล้ว ยังสามารถสะสมการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศึกษาทั่วไป 0299001 การรู้เท่าทันดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคิดเป็นหน่วยกิตรายวิชาศึกษาทั่วไป ในหมวด Science and Environment Literacy ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการเรียนวิชาศึกษาทั่วไปข้ามสถาบัน ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

รายวิชา มมศท 100 ปีการศึกษา 2567 ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต จัดกิจกรรมประกวดการนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” สำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนของรายวิชา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

รายวิชา มมศท 100 ปีการศึกษา 2567 ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต จัดกิจกรรมประกวดการนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” สำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนของรายวิชา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบหมายให้ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ดำเนินการในงานประกวดนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” ให้แก่นักศึกษาในชั้นเรียน

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่ ห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาในชั้นเรียนได้นำเสนอโครงงานกลุ่มที่สามารถตอบเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของนักศึกษา จากการคัดเลือกหัวข้อโครงงานเบื้องต้น มีกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกและเข้าร่วมประกวดการนำเสนอจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้ Local Low Carbon, การสำรวจปริมาณโซเดียมจากร้านอาหารใน MLC เพื่อความยั่งยืนของโภชนาการที่ดีและสุขภาวะที่ดี, โครงการส่งเสริมพัฒนาการให้กับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม, ผู้สูงอายุรู้เท่าทันมิจฉาชีพ, การทำ Platform เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง Low carbon ในอำเภอพุทธมณฑล โดยนักศึกษา, MU Mental Health

ม.มหิดลหารือกับ จ.นครปฐมเพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “นครปฐมศึกษา” และเส้นทางการเรียนรู้พัฒนาทักษะใหม่และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าเยี่ยมคารวะนางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และหารือเรื่องแนวทางการพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชา “นครปฐมศึกษา” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครปฐม เพื่อเพิ่มสำนึกรักท้องถิ่นและส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ อีกทั้งยังสามารถสะสมในระบบคลังหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนการเรียนรู้เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ยังได้นำเสนอแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ MUx, MUCE, และ MCA และรับฟังข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วย นางพัทธนันท์ นิลพัฒน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล นายจิรประวัติ ศรีวัฒนทรัพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ นายอนิรุทธ์ โพธิหล้า อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการระดับสูง น.ส.ยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดนครปฐม และนายสกนธ์ วงศ์สุกฤต ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) เพื่อนำมาออกแบบเส้นทางการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้คัดสรรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนกลุ่มต่าง ๆ  ของจังหวัดนครปฐมอีกด้วย

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมจัดพื้นที่ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2567”

วันที่ 7-8 กันยายน 2567 ณ อาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ในกิจกรรม “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2567” หรือ “Mahidol Open House 2024”
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ได้ร่วมจัดพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่น้องๆ นักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีความสนใจเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบ Life Long Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่บุคคลที่สนใจ

มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Shopee ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ คุณพัทธนันท์ ฤทธิกานนท์ Head of User Experience and BD infrastructure บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จํากัด และทีมงานจาก ศูนย์การเรียนรู้ผู้ขายช้อปปี้ (Shopee University Thailand) ในโอกาส ที่มหาวิทยาลัยมหิดลและ
บริษัท ช้อปปี้ ได้ร่วมกันออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สนใจได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ผ่านประสบการณ์ “การลงมือทำจริง” ภายใต้การดูแลของทีมงานมืออาชีพ สร้างรายได้ระหว่างเรียน อีกทั้งยังสามารถสะสมหน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปผ่านรายวิชา มมศท 107 ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce
for Entrepreneurs) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นรายวิชาในกลุ่ม Finance and Management Literacy นับเป็นการเรียนรู้แบบ Authentic Learning ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เส้นทางการเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ การฝึกประสบการณ์การเป็นผู้ขายตามงานที่ได้รับมอบหมาย การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยทีมวิทยากรจาก บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จํากัด และการถอดบทเรียน
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล https://clil.mahidol.ac.th

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมกับกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง “แนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนเรียน การตั้งค่าระบบลงทะเบียนเรียน SmartEDU และการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ภาคต้น ปีการศึกษา 2567”

วันที่ 26 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณการชีวิต ร่วมกับกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง “แนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนเรียน การตั้งค่าระบบลงทะเบียนเรียน SmartEDU และการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ภาคต้น ปีการศึกษา 2567″ เพื่อชี้แจงถึงแนวปฏิบัติสำหรับการลงทะเบียนเรียนและการตั้งค่าระบบลงทะเบียนเรียน SmartEDU และแนวทางการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป แก่ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสารการบรรยาย
ช่วงที่ 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่การศึกษา หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรไทย >> ดูวิดีโอ/ดาวน์โหลดเอกสาร
ช่วงที่ 2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่การศึกษา หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ >> ดูวิดีโอ/ดาวน์โหลดเอกสาร
ช่วงที่ 3 อาจารย์ผู้สอน รายวิชาศึกษาทั่วไปที่เปิดสอนใน ปีการศึกษา 2567 และเจ้าหน้าที่การศึกษา >> ดูวิดีโอ/ดาวน์โหลดเอกสาร

ศูนย์ CLiL ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2567

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (CLiL) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2567 ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2567 ณ ลานด้านหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่จัดขึ้นเพื่อสอดรับกับแนวคิด “Land Restoration, Desertification & Drought Resilience (การฟื้นฟูผืนดิน ทะเลทรายและการฟื้นคืนกลับจากภัยแล้ง)” ขององค์การสหประชาชาติ (United Nation) และแนวคิดการเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนที่ส่งเสริมการอยู่อาศัยและการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ
(“A promise place to Live and Learn with Nature”)

ศูนย์ CLIL ร่วมงานพิธิเปิด “iNT SPACE powered by SALAYA ONE” พื้นที่ Co-Working Space แห่งใหม่ ณ โครงการ SALAYA ONE ซอยตั้งสิน ศาลายา ในวันที่17 พฤษภาคม 2567

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานพิธีเปิด “iNT SPACE powered by SALAYA ONE” พื้นที่ Co-Working Space แห่งใหม่ ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 ณ โครงการ SALAYA ONE ซอยตั้งสิน ศาลายา ซึ่งเป็นโครงการภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ SALAYA ONE INNOVATION SPACE ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) และบริษัท มีนำ ดีเวลลอปเม้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและบริหารจัดการพื้นที่ SALAYA ONE INNOVATION SPACE ให้เกิด Innovation Ecosystem ภายในพื้นที่ศาลายา เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม และร่วมกันสนับสนุนผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ประกอบการในพื้นที่ศาลายาในเชิงสังคมและชิงพาณิชย์

ศูนย์ CLiL ร่วมกับ SCB Academy เชิญชวนว่าที่บัณฑิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรม "Interactive Workshop เตรียมความพร้อมสู่โลกการทำงาน หัวข้อ Resume Clinic"

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ร่วมกับ SCB Academy จัดกิจกรรม Interactive Workshop เตรียมความพร้อมสู่โลกการทำงาน หัวข้อ Resume Clinic แก่ว่าที่บัณฑิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่สนใจ ในวันที่ 4 เมษายน 2024 เวลา 16.00-17.00 น. ผ่านรูปแบบออนไลน์ Webex โดยวิทยากร คุณตรีทิพย์ ขจรกล่ำ Recruitment Manager ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะมาแนะนำเคล็ดลับ เขียน Resume ยังไงให้ได้งาน เทคนิคการสัมภาษณ์งานให้โดนใจ เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานสำหรับ First Jobber และเส้นทางสูาการสร้างโอกาสร่วมงานกับธนาคารไทยพาณิชย์

เข้าร่วมผ่านทาง WebEx ได้ที่ Meeting link:
https://mahidol.webex.com/mahidol/j.php?MTID=m2f9ee8dd30800a6dfe9b7bce70625f90

Meeting number: 2641 459 1098
Meeting password: 040467

Coursera Self Learning Program

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (Center for Life-integrated Learning) เชิญชวนผู้ที่สนใจพัฒนา “Startup Skill” เรียนออนไลน์ด้วยตนเอง (Self Learning Program) ผ่าน Coursera แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์ระดับโลก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่