โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical & Wellness Accommodation)

Dimensions of wellness: Social

  • จัดโดย ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตรประกาศนียบัตร/Non-Degree
  •  ๒๘๕ ชั่วโมง
  • ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมมือกับจัดทำหลักสูตรอบรมด้าน Wellness ให้กับ ๕ ประเภท เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจรวมถึงสามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตามแนวคิดการขับเคลื่อนสุขภาพเพื่อมุ่งสู่ความอยู่ดีมีสุขของผู้เข้ารับบริการ โดยโครงการจัดอบรม ด้าน Wellness Hotel เพื่อยกระดับผู้ประกอบการให้เข้าสู่การดำเนินงานศูนย์สุขภาพดีอย่างถูกต้องในด้านกลุ่มที่พักนักท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ

ศูนย์ CLiL จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ MUGE105 Train the Trainer เพื่อพัฒนาทีมผู้สอนความฉลาดรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ MUGE105 Train the Trainer เพื่อพัฒนาทีมผู้สอนความฉลาดรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป มมศท 105 การสร้างอนาคตที่มั่นคงทางการเงิน ณ ห้อง 4218 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก SCB Wealth Academy ได้แก่ คุณจันทร์ฉาย จันทร์เจ้าฉาย (CFP®) คุณงามจิตร สิงหบุตร (CFP®) คุณอนุชา นิลประดิษฐ์ (CFP®) คุณพรรณี อาทรกิจวัฒน์ คุณธนวิตร์ สวนศรี และทีมวิทยากรจาก SCB Academy มาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์แก่คณาจารย์จากส่วนงานต่าง ๆ ที่สนใจ การพัฒนาทีมผู้สอนในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รายวิชาสามารถรองรับนักศึกษาได้จำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกชั้นปี ทุกวิทยาเขต และช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาเข้ากับบริบทสาขาวิชาเรียนและวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 

 

สำหรับ รายวิชา มมศท 105 การสร้างอนาคตที่มั่นคงทางการเงิน เป็นหนึ่งในรายวิชานำร่องในกลุ่ม GE PLUS ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่บริหารจัดการโดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (Center for Life-integrated Learning – LiL) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการกิจกรรมเสริมหลักสูตรกับการเรียนรู้ในห้องเรียน นักศึกษาที่สอบผ่านบทเรียนออนไลน์ตามเส้นทางการเรียนรู้คัดสรรที่กำหนด เมื่อเข้าร่วมกระบวนการในชั้นเรียน เพื่อ “เติมเต็ม” และ “ยืนยัน” การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ร่วมกับทีมอาจารย์ในรายวิชา หรือที่เรียกว่ากิจกรรม PLUS ครบถ้วนแล้ว จะสามารถรับหน่วยกิตในรายวิชาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในหลักสูตรได้อีกด้วย 

เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ GE TALK ครั้งที่ 1

เสวนาทางวิชาการเครือข่ายศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย “GE Talk” ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 การบรรยาย หัวข้อ แนวโน้มการจัดการศึกษาทั่วไปในยุคพลิกผัน โดย รศ. ดร.บัณฑิต ทิพากร ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ที่ปรึกษาเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย

รับชมวิดีโอบันทึกการเสวนาย้อนหลัง คลิกที่นี่

ศูนย์ส่งเสริมฯ จัดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหิดลตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม Town Hall Meetings เรื่อง การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหิดลตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 เพื่อชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป แก่ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุม >>>> https://drive.google.com/drive/folders/1lYyf0reAlxAiVuDhwJXgpSmfTq7ozx8N?usp=drive_link

ศูนย์ CLiL ร่วมต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร

วันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยบุคลากรกองกิจการนิสิต กองบริหารการศึกษา และกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านฐานข้อมูลและสิทธิประโยชน์สำหรับศิษย์เก่า ด้าน Career Support Services ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ณ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อาคารสิริวัฒนภักดี) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

ขอบพระคุณภาพจาก กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์ CLiL ร่วมต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจาก University Brunei Darussalam

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ. ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ฯ ให้การต้อนรับ คณะผู้ศึกษาดูงานจาก University Brunei Darussalam นำโดย Assoc. Prof. Dr. Jose Hernandez Santos, Director, Dr. Nik Ani Afiqah Haji Mohamad Tuah, Deputy Director, Mrs. Eni Suriati Haji Abd Rahman, Assistant Registrar Centre for Lifelong Learning, University Brunei Darussalam เพื่อร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างกัน ณ อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

 

ขอบพระคุณภาพจาก หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

EGCO 103 Information Technology in the Daily Life

เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย ร่วมกับ SET เปิดตัววิชา “ผู้ประกอบการทางสังคม”

เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และพันธมิตรเครือข่ายการศึกษา เปิดตัวโครงการสร้างผู้ประกอบการทางสังคมในระดับอุดมศึกษา Social Enterprise (SE) @General Education (GE) โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษและเปิดงาน “ปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อไทยก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง” ซึ่งมีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองการขับเคลื่อนภาคการศึกษาไทย สนับสนุนการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นสมัยใหม่ในระบบอุดมศึกษา ในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ม.มหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการศึกษาทั่วไประดับชาติ ในโอกาสการเฉลิมฉลอง 53 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การเผยแพร่องค์ความรู้และแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป” ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษา 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การเสวนาดังกล่าวจัดโดย สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม เนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลอง 53 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สาระสำคัญของการบรรยาย ประกอบด้วยการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดล 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบรายวิชาตามแนวทาง Outcome-based Education ด้านการบริการจัดการรายวิชาตามกลุ่ม Literacy ในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนการสอน รายวิชามมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ และการนำเสนอทิศทางการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดลให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ผ่านการพัฒนาชุดรายวิชา GE Plus ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) การเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Personalized Learning) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) ได้แบบบูรณาการ