กลุ่มโครงงานที่ต้องการใช้ “พื้นที่บริเวณหน้าห้อง 217 – 219 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา” ในการเก็บข้อมูลสำหรับการทำโครงงานรายวิชา MUGE 100 ในวันพุธที่ 19 ก.พ. 2568 เวลา 13.00 – 17.00 น. สามารถลงชื่อได้ที่นี่

เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ หรือเก็บข้อมูลแบบสำรวจ สำหรับการทำโครงงานรายวิชา MUGE100 ในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 – 17.00 น.
 
รายวิชาจึงขอสำรวจ “กลุ่มโครงงาน” ที่ประสงค์ใช้พื้นที่บริเวณหน้าห้อง 217 – 219 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา ในวันเวลาดังกล่าว เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนกิจกรรมที่เหมาะสม
โดยนักศึกษาสามารถกรอกแบบฟอร์มนี้ได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 
  
 

หมายเหตุ

  • ทางรายวิชาจะติดต่อกลุ่มนักศึกษากลับไปทางอีเมล เพื่อยืนยันการเข้าร่วมอีกครั้ง
  • ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: MUGE 100 หรือ โทรศัพท์ 02-849-4587 (ในวัน-เวลาราชการ)

ตรวจสอบรายชื่อนักศึกษา MUGE 100 ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเทอม 2/2567 หรือลงผิดกลุ่มเรียนได้ที่นี่

ในวันที่ 7 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. รายวิชาได้ตรวจสอบการลงทะเบียนนักศึกษา รายวิชา MUGE 100 ปีการศึกษา 2567 พบว่ามีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่มีสถานะกำลังศึกษาอยู่ แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MUGE 100 หรือลงทะเบียนผิดกลุ่มเรียน จึงขอให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนดำเนินการเพิ่มรายวิชาในกลุ่มเรียนที่กำหนด และสำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนผิดกลุ่มเรียน ให้ลดและเพิ่มรายวิชาให้ถูกต้องตามกลุ่มเรียนที่กำหนด

ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MUGE 100 เทอม 2/2567 ในกลุ่มเรียนที่กำหนด เจ้าหน้าที่รายวิชาจะไม่สามารถส่งเกรด

ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถดำเนินการเพิ่ม-ลดได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 20 มกราคม 2568 หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะ/วิทยาลัยของนักศึกษากำหนดไว้

หมายเหตุ

  • รายวิชา MUGE 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ เป็นรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนตลอดทั้งปีการศึกษา โดยภาคการศึกษาที่ 1 (เทอม 1/2567) เกรดของนักศึกษาทุกคนจะเป็นสัญลักษณ์ P (In Progress) และภาคการศึกษาที่ 2 (เทอม 2/2567) จะปรากฏเกรดตามผลการประเมิน (O/S/U)
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2567 ทุกคนจำเป็นจะต้องลงทะเบียนเรียนและเข้าเรียนรายวิชานี้ในกลุ่มเรียนเดิม มิฉะนั้นนักศึกษาจะไม่มีเกรดและถือว่าไม่ผ่านรายวิชานี้
  • นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ในช่วงลงปกติและช่วงเพิ่ม/ลด (6 – 20 ม.ค. 2568) หากพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว นักศึกษาจำเป็นจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่การศึกษาของคณะ/วิทยาลัยเพื่อขอให้ประสานงานขอลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ ถ้าไม่สามารถลงทะเบียนได้นักศึกษาจำเป็นจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ใหม่ทั้งปีการศึกษา
  • ตรวจสอบกลุ่มเรียนที่ต้องลงทะเบียน รวมถึงรายวิชาศึกษาทั่วไปแกนอื่น คลิกที่นี่ 
  • ลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ SmartEDU คลิกที่นี่
  • หลักสูตรของนักศึกษาไม่ได้ใช้ระบบ SmartEDU ในการลงทะเบียน เจ้าหน้าที่คณะจะเป็นผู้ลงทะเบียนให้
  • สำหรับนักศึกษาชั้นปีสูงที่ไม่สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงลงปกติหรือเพิ่ม/ลดของหลักสูตร กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่การศึกษาของคณะ/วิทยาลัยเพื่อดำเนินการลงทะเบียนให้เรียบร้อย มิฉะนั้นทางรายวิชาจะไม่สามารถส่งเกรดให้ได้ เพราะไม่มีรายวิชาปรากฏ

การตั้งค่ากลุ่มเรียนในระบบ SmartEDU เทอม 2/2567

สำหรับการลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ SmartEDU ในเทอม 2/2567 เจ้าหน้าที่รายวิชา MUGE 100 ได้ตั้งค่ากลุ่มเรียน 1 – 14 (กลุ่ม A) ที่เปิดสอนในวันอังคารเป็นวันจันทร์ ทำให้นักศึกษาบางคนไม่สามารถลงทะเบียนได้เนื่องจากเกิดการซ้อนทับของตารางเรียนกับรายวิชาอื่น 

ทันทีที่ได้รับแจ้งกรณีนี้จากนักศึกษา เจ้าหน้าที่รายวิชาได้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขในทันทีที่สามารถเข้าระบบ SmartEDU ได้ 

ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ได้แก้ไข “วันเรียน” ของกลุ่มเรียนดังกล่าวให้เป็นวันอังคารแล้ว ในวันที่ 17 ธันวาคม 2567 เวลา 10.40 น.

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยในที่นี้ด้วย

แจ้งเตือนเรื่องการลงทะเบียนรายวิชา MUGE 100 ในเทอม 2/2567

เนื่องจากรายวิชา MUGE 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ เป็นรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนตลอดทั้งปีการศึกษา โดยภาคการศึกษาที่ 1 (เทอม 1/2567) เกรดของนักศึกษาทุกคนจะเป็นสัญลักษณ์ P (In Progress) และภาคการศึกษาที่ 2 (เทอม 2/2567) จะปรากฏเกรดตามผลการประเมิน (O/S/U)

นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2567 ทุกคนจำเป็นจะต้องลงทะเบียนเรียนและเข้าเรียนรายวิชานี้ในกลุ่มเรียนเดิม มิฉะนั้นนักศึกษาจะไม่มีเกรดและถือว่าไม่ผ่านรายวิชานี้

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ในช่วงลงปกติ (16 – 30 ธ.ค. 2567) และช่วงเพิ่ม/ลด (6 – 20 ม.ค. 2568) หากพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว นักศึกษาจำเป็นจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่การศึกษาของคณะ/วิทยาลัยเพื่อขอให้ประสานงานขอลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ ถ้าไม่สามารถลงทะเบียนได้นักศึกษาจำเป็นจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ใหม่ทั้งปีการศึกษา

ตรวจสอบกลุ่มเรียนที่ต้องลงทะเบียน รวมถึงรายวิชาศึกษาทั่วไปแกนอื่น คลิกที่นี่ 

ลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ SmartEDU คลิกที่นี่

หมายเหตุ

  • หลักสูตรของนักศึกษาไม่ได้ใช้ระบบ SmartEDU ในการลงทะเบียน เจ้าหน้าที่คณะจะเป็นผู้ลงทะเบียนให้
  • สำหรับนักศึกษาชั้นปีสูงที่ไม่สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงลงปกติหรือเพิ่ม/ลดของหลักสูตร กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่การศึกษาของคณะ/วิทยาลัยเพื่อดำเนินการลงทะเบียนให้เรียบร้อย มิฉะนั้นทางรายวิชาจะไม่สามารถส่งเกรดให้ได้ เพราะไม่มีรายวิชาปรากฏ

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ฯ นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP หัวข้อ “Design Revolution: เทคนิคการใช้ Canva Pro (Glow Up 2024) และ Magic AI อย่างมืออาชีพ” ณ ห้อง 802 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ

นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากจะได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งร่วมทำกิจกรรมเวิร์กช็อปที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตการเรียนและการทำงานแล้ว ยังสามารถสะสมการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศึกษาทั่วไป 0299001 การรู้เท่าทันดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคิดเป็นหน่วยกิตรายวิชาศึกษาทั่วไป ในหมวด Science and Environment Literacy ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการเรียนวิชาศึกษาทั่วไปข้ามสถาบัน ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

รายวิชา มมศท 100 ปีการศึกษา 2567 ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต จัดกิจกรรมประกวดการนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” สำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนของรายวิชา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

รายวิชา มมศท 100 ปีการศึกษา 2567 ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต จัดกิจกรรมประกวดการนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” สำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนของรายวิชา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบหมายให้ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ดำเนินการในงานประกวดนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน “MUGE 100 Pitching Day” ให้แก่นักศึกษาในชั้นเรียน

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่ ห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาในชั้นเรียนได้นำเสนอโครงงานกลุ่มที่สามารถตอบเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของนักศึกษา จากการคัดเลือกหัวข้อโครงงานเบื้องต้น มีกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกและเข้าร่วมประกวดการนำเสนอจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้ Local Low Carbon, การสำรวจปริมาณโซเดียมจากร้านอาหารใน MLC เพื่อความยั่งยืนของโภชนาการที่ดีและสุขภาวะที่ดี, โครงการส่งเสริมพัฒนาการให้กับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม, ผู้สูงอายุรู้เท่าทันมิจฉาชีพ, การทำ Platform เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง Low carbon ในอำเภอพุทธมณฑล โดยนักศึกษา, MU Mental Health

แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน รายวิชา MUGE 100 ภาคการศึกษา 1/67

ขอเชิญชวนนักศึกษารายวิชา MUGE 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ตอบแบบประเมินรายวิชา สำหรับภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567 เพื่อที่รายวิชาจะนำผลประเมิน และข้อเสนอแนะของนักศึกษาไปพัฒนารายวิชาต่อไป

นักศึกษาสามารถประเมินรายวิชาได้ตั้งแต่วันนี้ (เวลา 18.00 น.) ถึงวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 น. ผ่านระบบประเมินรายวิชาของมหาวิทยาลัย (https://evaluation.mahidol.ac.th/)

ประกาศผลโครงการ “MUGE 100 Pitching Day ปี 2567” รอบคัดเลือก

ประกาศรายชื่อกลุ่มโครงงานที่ผ่านรอบคัดเลือก เข้าไป pitch โครงงาน ในวัน Pitching Day (วันพุธ 27 พ.ย. 2567) จำนวน 10 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ 42 ก้าวแรกสู่รั้ว MU
  • กลุ่มที่ 43 สร้างสรรค์สิ่งใหม่จากสิ่งที่เรามองข้าม
  • กลุ่มที่ 113 Local low carbon (การท่องเที่ยวแบบ low carbon)
  • กลุ่มที่ 123 การสํารวจปริมาณโซเดียมจากร้านอาหารใน MLC เพื่อความยั่งยืนของโภชนาการที่ดีและสุขภาวะที่ดี
  • กลุ่มที่ 138 การวางแผนการเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
  • กลุ่มที่ 143 โครงการส่งเสริมพัฒนาการให้กับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
  • กลุ่มที่ 150 ใครอยากจะเป็นเศรษฐี ฉันล่ะสิๆ
  • กลุ่มที่ 176 ผู้สูงอายุรู้เท่าทันมิจฉาชีพ
  • กลุ่มที่ 182 การทำ Platform เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง low carbon ในอำเภอพุทธมณฑล โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
  • กลุ่มที่ 328 MU Mental

ทั้งนี้ กลุ่มที่ผ่านเข้ารอบ สามารถส่งตัวแทนมา upskill ก่อนไป pitch จริงได้ ผ่านการอบรมเทคนิคการนำเสนอแบบ Pitching (Pitching Techniques Training Workshop) โดย ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ในวันพุธที่ 20 พ.ย. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ห้อง L1-101 อาคารบรรยายรวม 1 คณะวิทยาศาสตร์ (ศาลายา) นักศึกษาที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียน คลิกที่นี่

สำหรับกลุ่มที่ผ่านเข้ารอบ

การรายงานตัว

  • ขอให้นักศึกษากลุ่มที่ผ่านรอบคัดเลือกมารายงานตัวในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 12.30 – 13.00 น. ที่หน้าห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา หากไม่ได้รายงานตัวภายในเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์
  • นักศึกษาสามารถปรับปรุงสไลด์ร่างโครงงานเดิมสำหรับ การ pitching 5 – 7 นาที และส่งใหม่เป็นลิงก์สำหรับดาวน์โหลดไฟล์/เปิดไฟล์ได้ในเวลารายงานตัว

การแต่งกายสำหรับผู้เข้าประกวด

  • แต่งกายด้วยชุดนักศึกษา (ไม่ใช่ชุดพิธีการ) 

รางวัลการประกวด

  • รางวัลหัวข้อโครงงานดีเด่น รางวัลละ 3,000 บาท
  • รางวัล Popular Vote รางวัลละ 2,500 บาท

หมายเหตุ: การตัดสินผู้ได้รับรางวัลถือเป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการบริหารรายวิชาฯ และถือเป็นที่สิ้นสุด

สำหรับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในวัน Pitching Day สามารถ walk-in เข้ามาลงทะเบียนในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 – 13.30 น. ที่หน้าห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยาได้

พิเศษ นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในวัน Pitching Day  ตลอดระยะเวลากิจกรรมทุกคนจะได้รับ AT 21st Century Skills รวม 4 ชม. ดังนี้

  • Critical Thinking & Problem Solving 1 ชม.
  • Creativity & Innovation 1 ชม.
  • Communication & Collaboration 2 ชม.

Pitching Techniques

รายวิชา MUGE 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญชวนนักศึกษารายวิชา MUGE 100 ปีการศึกษา 2567 เข้าร่วม การอบรมเทคนิคการนำเสนอแบบ Pitching (Pitching Techniques Training Workshop) โดย ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต ในวันพุธที่ 20 พ.ย. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ห้อง L1-101 อาคารบรรยายรวม 1 คณะวิทยาศาสตร์ (ศาลายา)  

นักศึกษาที่เข้าร่วมตลอดช่วงเวลากิจกรรม จะได้รับ AT 21st Century Skills จำนวน 2 ชม.

  • Communication and Collaboration 1 ชั่วโมง
  • Critical Thinking & Problem Solving 1 ชั่วโมง

นักศึกษาที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ (รับจำนวนจำกัด 250 คน)

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ชั้น 4 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

  • โทร 02-849-4587 (คุณวรรณา)
  • อีเมล lifelonglearning@mahidol.edu
  • Facebook: MUGE 100 

ม.มหิดลหารือกับ จ.นครปฐมเพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “นครปฐมศึกษา” และเส้นทางการเรียนรู้พัฒนาทักษะใหม่และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล ประธานศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าเยี่ยมคารวะนางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และหารือเรื่องแนวทางการพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชา “นครปฐมศึกษา” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครปฐม เพื่อเพิ่มสำนึกรักท้องถิ่นและส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ อีกทั้งยังสามารถสะสมในระบบคลังหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนการเรียนรู้เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ยังได้นำเสนอแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ MUx, MUCE, และ MCA และรับฟังข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วย นางพัทธนันท์ นิลพัฒน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล นายจิรประวัติ ศรีวัฒนทรัพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ นายอนิรุทธ์ โพธิหล้า อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการระดับสูง น.ส.ยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดนครปฐม และนายสกนธ์ วงศ์สุกฤต ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) เพื่อนำมาออกแบบเส้นทางการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้คัดสรรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนกลุ่มต่าง ๆ  ของจังหวัดนครปฐมอีกด้วย