ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม” ให้แก่คณะกรรมการบริหาร และอาจารย์ผู้สอน รายวิชา มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์

16 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม” ให้แก่คณะกรรมการบริหาร และอาจารย์ผู้สอน รายวิชา มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ณ ห้อง Workshop ริมน้ำ ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ผลถานุกิติถาวร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและสารสนเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้
 
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ กลายเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรและสังคม การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Design Thinking จึงเป็นกระบวนการที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการคิดอย่างสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และการทำงานร่วมกันเป็นทีม Design Thinking เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง พัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype) และทดสอบเพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมที่สุด การจัดกิจกรรมในรูปแบบเวิร์กช็อปยังช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้จากความผิดพลาด และส่งเสริมวัฒนธรรมการคิดเชิงนวัตกรรมภายในองค์กรหรือชุมชน ดังนั้น การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Design Thinking จึงมีความสำคัญในการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาแนวคิดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

Leave a Comment