ฐานข้อมูลรายวิชาศึกษาทั่วไป
คำอธิบาย
ฐานข้อมูลรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำขึ้นโดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิตเพื่อให้ส่วนงานตรวจสอบข้อมูลรายวิชา รวมถึงกลุ่ม Literacy สำหรับที่การพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาได้
รายวิชาบัญชีกลาง หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไปที่อนุญาตให้นักศึกษาทุกหลักสูตรลงทะเบียนเรียนได้ (รายวิชาบัญชีกลางบางวิชาหรือบางกลุ่มเรียน หากกำหนดกลุ่มผู้เรียนเฉพาะที่ได้ตกลงกันไว้กับส่วนงานต้นสังกัดของผู้เรียน)
รายวิชาส่วนงาน หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไปที่เปิดให้เรียนเฉพาะในหลักสูตร/ส่วนงานของตนเอง
รายวิชาแกนที่มหาวิทยาลัยกำหนด หมายถึง รายวิชาบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียน (ปัจจุบันมีเฉพาะรายวิชาแกนสำหรับหลักสูตรไทย) แบ่งเป็นรายวิชาแกน แบบบังคับรายวิชา คือ มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ และแบบบังคับหน่วยกิต ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาในกลุ่ม MU Literacy
Literacy หมายถึงกลุ่มสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดหมวดหมู่รายวิชาศึกษาทั่วไปให้ครอบคลุมกลุ่มเนื้อหาที่สำคัญ ประกอบด้วย 6 Literacy ได้แก่ MU Literacy, Health Literacy, Science and Environment Literacy, Intercultural and Global awareness Literacy, Civic Literacy, และ Finance and Management Literacy แต่ละหลักสูตรอาจกำหนดรายวิชาที่ต้องเรียน หรือให้เลือกเรียนได้เองแต่กำหนดจำนวนหน่วยกิตรวมขั้นต่ำของแต่ละ Literacy ไว้แตกต่างกัน สามารถตรวจสอบได้จาก “เล่มหลักสูตร”
หมายเหตุ: รายวิชาที่ระบุไว้เป็น “กลุ่มภาษา” หมายถึงรายวิชาที่ไม่สอดคล้องตาม Literacy ของมหาวิทยาลัย แต่เทียบเคียงได้กับ “กลุ่มภาษา”
กลุ่มวิชา (สำหรับหลักสูตรที่เปิด/ปรับปรุงก่อนประกาศใช้ Literacy) สำหรับบางหลักสูตร นักศึกษาชั้นปีสูงยังจำเป็นต้องจัดกลุ่มวิชาแบบเดิมก่อนมี Literacy อยู่ เช่น กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สุขภาพและนันทนาการ ภาษา และ อื่น ๆ
GE PLUS หมายถึง รายวิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น ออกแบบรายวิชาเป็นโมดูล ผู้เรียนสามารถเรียนและวัดผลแยกเป็นโมดูล ๆ แล้วนำมา PLUS กันได้ เช่น เรียนหลักการปฐมพยาบาลแบบออนไลน์บน MUx แล้วไปฝึก CPR ผ่านกิจกรรมของกองกิจฯ หรือส่วนงาน จากนั้นมาทำ reflection กับอาจารย์ แล้วนำหลักฐานของสามโมดูลมาเทียบเป็นผลลักธ์การเรียนรู้ของรายวิชาได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนในชั้นเรียนตลอดทั้ง 15 สัปดาห์ (หมายเหตุ – บางโมดูลอาจมีเส้นทางการเรียนรู้ให้เลือกได้มากกว่า 1 เส้นทาง)
หมายเหตุ: รายวิชาวิชาสำหรับหลักสูตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สามารถเลือกเรียนได้ทั้งนักศึกษาในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ (นักศึกษาหลักสูตรไทยต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ประจำวิชา) รายวิชาสำหรับหลักสูตรไทย จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สามารถเลือกเรียนได้เฉพาะนักศึกษาในหลักสูตรไทยเท่านั้น
หากต้องการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา โปรดส่งรายละเอียดของรายวิชา (มม.3) มายัง อีเมล lifelonglearning@mahidol.edu เพื่อให้ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ฯ เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลลงในฐานข้อมูล