ธรรมนูญเครือข่าย

สารบัญ

หมวดที่ 1 ความทั่วไป

ข้อ 1 ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2566

ข้อ 2 “เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า “คศทท” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai General Education Network” มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “TGEN”

ข้อ 3 คำนิยาม

  • “เครือข่าย” หมายถึง เครือข่ายการศึกษาทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • “สถาบันอุดมศึกษา” หมายถึงสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
  • “คณะกรรมการบริหารเครือข่าย” หมายถึง คณะกรรมการบริหารเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่ง ประเทศไทย

ข้อ 4 ตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย ให้ระบุและมีรายละเอียด ขนาด สี และทําเป็น 2 ชุด คือ 1) ขนาดปกหนังสือ 2) ขนาดหัวกระดาษ และอธิบายให้ชัดเจน

  • คําอธิบาย ตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย เป็นข้อความ คําว่า “Thai GE network” ขีดเส้นใต้สีดํา และมีข้อความว่า “เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” อยู่ด้านล่าง
  • ลักษณะ: แบบอักษร (Font) : “Thai GE network” ใช้แบบอักษร Monotype Corsiva ตัวเอียง ส่วน “เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” ใช้แบบอักษร Angsana New ตัวหนา
  • สี: “Thai” และ “network” เป็นสีดํา ส่วน “GE” และ “เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” เป็นสีเขียวเข้ม
  • ขนาด: หัวกระดาษ A4 ทั่วไป “Thai” และ “network” ขนาดอักษร 40 ส่วน “GE” ขนาดอักษร 62 และ “เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย” ขนาดอักษร 30 หัวกระดาษจดหมาย ตราสัญลักษณ์ของเครือข่ายจะเป็นไฟล์ภาพ ขนาดความสูง 1.5 เซนติเมตร ยาว 5.7 เซนติเมตร

ข้อ 5 ที่ตั้งสํานักงานเครือข่าย อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีศูนย์ประสานงานเครือข่าย ณ สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นประธานเครือข่าย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่

หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์

ข้อ 6. วัตถุประสงค์ของเครือข่าย มีดังต่อไปนี้

6.1 เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา แนวคิด และความหมายของการศึกษาทั่วไป ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

6.2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษาทั่วไประหว่างสถาบันอุดมศึกษา

6.3 ให้ข้อคิดเห็นและ/หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับ แนวทาง มาตรฐานและวิธีการจัดการ การศึกษาทั่วไป ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

6.4 จัดกิจกรรมทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการหลักสูตร การเรียน การสอน งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านการศึกษาทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษา

หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ

ข้อ 7. สมาชิกเครือข่ายมี 4 ประเภท คือ

7.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

7.2 ภาคีสมาชิก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ใช่สมาชิกสามัญ

7.3 สมาชิกสมทบ ได้แก่ ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกของเครือข่าย

7.4 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคล ที่คณะกรรมการบริหารเครือข่าย เชิญเข้าเป็นสมาชิก อาทิ เครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)/ ที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ/ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล/ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ข้อ 8. หน้าที่ของสมาชิก สมาชิกมีหน้าที่ปฏิบัติตามธรรมนูญ ระเบียบ และมติของคณะกรรมการ บริหารเครือข่าย รวมทั้งให้การสนับสนุน รักษาคุณธรรม ความดีงาม และเชิดชูเกียรติของเครือข่าย

ข้อ 9. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบ ให้ยื่นใบสมัครตามแบบฟอร์มที่เครือข่ายกําหนด และได้รับการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่าย

ข้อ 10. สิทธิของสมาชิก

10.1 สมาชิกสามัญ

  • มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการของเครือข่าย
  • มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
  • มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการและ/หรืออนุกรรมการของเครือข่าย

10.2 ภาคีสมาชิก สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมศักดิ์

  • มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการของเครือข่าย

ข้อ 11. การพ้นจากสมาชิกภาพ

11.1 ยุบเลิกกิจการ

11.2 ตาย

11.3 ลาออก

 

หมวดที่ 4 คณะกรรมการบริหารเครือข่าย

ข้อ 12. คณะกรรมการบริหารเครือข่าย ต้องเป็นสมาชิกสามัญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นๆ ไม่น้อยกว่าสิบห้าคน แต่ไม่เกินยี่สิบคน โดยมีตําแหน่งต่างๆ ดังนี้

12.1 ประธาน

12.2 รองประธาน คนที่ 1

12.3 รองประธาน คนที่ 2

12.4 เลขาธิการ

ให้มีที่ปรึกษา อันประกอบด้วย เลขาธิการสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ไม่เกินยี่สิบคน

ข้อ 13. การได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหาร

13.1 ประธานได้มาจากการเลือกตั้งจากที่ประชุมสามัญ 

13.2 เลขาธิการมาจากดุลยพินิจของประธาน

13.3 ผู้แทนสมาชิกสามัญในแต่ละเครือข่ายอุดมศึกษาระดับภูมิภาคขอสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภูมิภาคละหนึ่งคน

13.4 กรรมการที่เหลือจํานวนหนึ่งมาจากการพิจารณาของกรรมการตามข้อที่ 13.1 ถึง 13.3

13.5 รองประธานคนที่ 1 และรองประธานคนที่ 2 ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร เครือข่าย เป็นผู้พิจารณาให้ประธาน เสนอรายชื่อคณะกรรมการต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อประกาศแต่งตั้ง เป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายต่อไป ทั้งนี้ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน หลังการเลือกตั้ง

ข้อ 14. คณะกรรมการบริหารเครือข่าย มีหน้าที่ดําเนินกิจกรรมของเครือข่ายให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของเครือข่าย โดยต้องจัดให้มีการประชุมกรรมการบริหาร อย่างน้อยทุกสองเดือน และต้องจัดให้ มีการประชุมสามัญเป็นประจําทุกสองปี ทั้งนี้ ควรประกาศนโยบายแผนงานสองปีโดยสังเขป ให้สมาชิกทราบ ภายในสี่เดือน หลังจากเริ่มวาระ

ข้อ 15. หน้าที่คณะกรรมการบริหาร

15.1 ประธาน มีหน้าที่ดังนี้

  • เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่าย
  • เป็นประธานการประชุมสามัญประจําปี

15.2 รองประธาน มีหน้าที่ดังนี้

  • ทําหน้าที่แทนประธาน ในกรณีที่ได้รับมอบหมายจากประธาน หรือกรณีที่ประธาน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

15.3 เลขาธิการ มีหน้าที่ดังนี้

  • บริหารจัดการสํานักงานเครือข่าย
  • ประสานงานกิจกรรมของเครือข่าย
  • จัดทําวาระและรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายและการประชุมสามัญประจําปี
  • ทําหน้าที่เลขานุการในการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่าย
  • จัดทําฐานข้อมูลเครือข่ายให้สมบูรณ์และทันสมัย

ข้อ 16. วาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการบริหารเครือข่าย ให้อยู่ในตําแหน่งได้คราวละสองปี นับตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม สําหรับตําแหน่งประธานจะต่อเนื่องได้ไม่เกินสองวาระ และให้คณะกรรมการบริหาร เครือข่าย ดําเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน ก่อนสิ้นวาระ

หมวดที่ 5 ทุนดําเนินงาน

ข้อ 17. รายรับของเครือข่าย อาจมาจาก

17.1 เงินสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

17.2 เงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของเครือข่าย

17.3 เงินบริจาค

หมวดที่ 6 กิจกรรมเครือข่าย

18. เครือข่าย มีกิจกรรมดังต่อไปนี้

18.1 จัดประชุมวิชาการการศึกษาทั่วไประดับประเทศ และ/หรือระดับนานาชาติ

18.2 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล โดยวิธีการต่างๆ เช่น การเสวนา การสัมมนา การจัดการความรู้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

18.3 จัดอบรม ศึกษา ดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ ตามความต้องการของสมาชิก

18.4 ส่งเสริม ให้คําปรึกษา และพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไประหว่างสมาชิก 

18.5 จัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอนรายวิชาการศึกษาทั่วไป

18.6 ส่งเสริมการวิจัย และนวัตกรรมเกี่ยวกับงานการศึกษาทั่วไป

18.7 พัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไปที่สอดคล้องกับกรอบแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education)